เทคโนโลยีการวางแผนซ่อมบำรุงรักษาถนนแบบ Predictive

1577 จำนวนผู้เข้าชม  | 

เทคโนโลยีการวางแผนซ่อมบำรุงรักษาถนนแบบ Predictive

เทคโนโลยีด้านการสำรวจ ออกแบบถนน ปัจจุบันได้พัฒนาจากเดิมไปมาก ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับ Disruptive Technology เลยก็ว่าได้
เพราะนอกจากจะทำงานเป็นส่วนๆแบบเดิม ปัจจุบันการต่อเชื่อมเทคโนโลยีเริ่มเชื่อมโยงกันตั้งแต่ การสำรวจ การออกแบบ การประมาณราคา การนำเสนอโครงการ (Presentation) การนำเอาข้อมูล Infrastructure BIM ไปเข้ากับเครื่องมือสำรวจ และ เครื่องจักรกลก่อสร้าง ทำให้ไม่ต้องยิง steak อีกต่อไป เพราะเครื่องจักรกลก่อสร้างปรับระดับที่ได้จากไฟล์คอมพิวเตอร์ ทำให้ได้ผลงานที่ดีขึ้นกว่าเดิมมาก

และยังสามารถตรวจสอบผลงานที่ก่อสร้างถนนว่าได้ระดับ หรือ เป็นหลุมเป็นบ่อตรงไหน เมื่อใช้งานถนนแล้ว ยังนำไปเปรียบเทียบกับแบบก่อสร้างที่เคยออกแบบไว้ นอกจากจะเปรียบเทียบระดับผิวถนนแล้ว ยังเป็นการวางแผนการซ่อมแซมล่วงหน้า (Predictive) ได้ ว่าต้องซ่อมที่ กิโลเมตรเท่าไหร่ มีปริมาณงานต้องซ่อมกี่ตารางเมตร ทำให้ทำงบประมาณได้ง่าย ซึ่งใช้ AI ทำการประมวลผลการถ่ายภาพถนน ว่าตรงไหน ถนนแตกร้าวเสียหายต้องซ่อมแซม ให้โปรแกรมสามารถเรียนรู้จากข้อมูลที่ป้อนเข้าไปเป็นแบบ machine learning

บริษัท ทูพลัส ซอฟท์ จำกัด ทำการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีด้านการก่อสร้างระบบ infrastructure 4.0 มาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบันจะทำการเชื่อมโยงระหว่างการสำรวจ การวิเคราะห์ออกแบบธรณีเทคนิค ซอฟท์แวร์ออกแบบ infrastucture เช่น ถนน รางรถไฟ สถานีรถไฟฟ้า อุโมงค์ สะพาน เป็นต้น การบริหารโครงการสำหรับการก่อสร้าง infrastructure โดยเฉพาะแบบ Location Based Scheduling  การประสานงานโครงการ การบริหารทรัพย์สิน infrastructure asset management ตามมาตรฐาน ISO55000   


 

คลิปข้างบน เป็นการทำงานของเครื่องสแกน 3 มิติสำหรับถนน รางรถไฟ โดยเฉพาะของ Topcon ซึ่งเป็น partner ของ Bentley Systems,Inc 

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้